สิทธิของประชาชนตามกฎหมาย
สิทธิ คือ อำนาจอันชอบธรรม ซึ่งบุคคลทุกคนพึงมีพึงได้ โดยไม่ไปเบียดเบียนคนอื่นสิทธิที่มีอยู่นี้จะปรากฏในหลาย ๆ ด้าน เช่น สิทธิในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินต่าง ๆของตนเอง ที่เรียกว่า สิทธิตามกฎหมายแพ่ง หรือในการเลือกตั้งบุคคลทุกคนก็มีสิทธิในการเลือกตั้ง ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีสิทธิในร่างกาย สิทธิในการประกอบกิจการต่าง ๆ ตามที่ตนเองต้องการและสิทธิที่สำคัญที่สุดของบุคคลก็คือ สิทธิตามกฎหมาย
สิทธิของประชาชนตามกฎหมาย เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญได้กำหดสิทธิของประชาชนเอาไว้ โดยให้ถือว่าประชาชนไทยไม่ว่าแหล่งกำเนิด หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกันหมด เช่น
1. บุคคลย่อมมีสิทธิทางการเมือง หมายความว่า คนทุกคนย่อมสามารถเข้ามารับผิดชอบต่อบ้านเมือง โดยการใช้สิทธิตามกฎหมาย เช่น กฎหมายเลือกตั้ง เมื่อประชาชนอายุครบ 18 ปี ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกตั้งผู้แทนราษฎร เพื่อให้ผู้แทนราษฎรไปทำหน้าที่ทางการเมืองแทนตนเอง ที่เป็นการตัดสินใจของประชาชนว่าจะได้ผู้แทนที่ไปทำหน้าที่ในด้านการเมืองได้ดีเพียงใด
2. บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งสิทธิอันนั้นสามารถใช้อ้างอิงหรือยืนยันกับบุคคลอื่นได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าทรัพย์สินจะไปอยู่ที่ใด จะถูกขโมยหรือ เคลื่อนย้ายไปที่อื่นผู้เป็นเจ้าของก็ยังสามารถอ้างสิทธิอันนี้ได้โดยตลอด เพื่อให้ทรัพย์สินเหล่านั้นกลับคืนมาอยู่ที่เดิมหรืออยู่ในความครอบครองอย่างเดิม ถ้าหากบุคคลอื่นครอบครองเอาไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยไม่มีสิทธิก็ย่อมสามารถฟ้องร้องต่อศาล เพื่อบังคับให้เป็นไปตามสิทธิได้
หน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยหน้าที่ในข้อนี้ถือว่าเป็นหน้าที่อันสำคัญ
2. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ หน้าที่ข้อนี้มิใช่ว่าจะเป็นหน้าที่ของทหารเท่านั้น คนไทยทุกคนต้องมีหน้าที่เช่นเดียวกัน
3. บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารเพราะการเป็นทหารนั้นจะได้ทำหน้าที่ป้องกันประเทศโดยตรงพอถึงวัยหรืออายุตามที่กฎหมายกำหนดก็จะต้องไปรับราชการทหาร แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางคนที่กฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้
4. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายเนื่องจากกฎหมายเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในสังคมจึงจะละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้
5. บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการ เมื่อถึงคราวที่ประชาชนพอจะช่วยเหลือได้ หรือเมื่อทางราชการขอความช่วยเหลือในฐานะที่เป็นประชาชนพลเมืองของชาติจึงต้องมีหน้าที่อันนี้ เช่น การช่วยพัฒนาถนนหนทาง การช่วยบริจาคทรัพย์สินต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งช่วยกันดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยการเป็นหูเป็นตาให้ราชการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น