สาระของทนายชาวบ้าน.ฝึกหัด

บล็อกนี้...ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนสาระความรู้ระหว่างเพื่อนทั้งในและนอกห้องเรียน หากมีเนื้อหาสาระไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดหรือกระทำการใดๆในทางที่ไม่ดี ทางผู้จัดทำบล็อกนี้ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ...

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาระกฎหมายไทย เรื่อง กฏหมายครอบครัว เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา


ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
เมื่อการสมรสนั้นมีการจดทะเบียนและไม่เข้าข้อห้ามตามกฎหมายข้ออื่นแล้ว การสมรสนั้น
ก็จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันต่าง ๆ
 ดังนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง สามีภริยา ซึ่งมีผลแยกได้ ๒ ประการคือ

          - ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน
          - ความสัมพันธ์ส่วนตัว

          ๑. ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน เมื่อชายหญิงคู่นั้นได้ทำการสมรสกันตามกฎหมายแล้ว
ทรัพย์สินต่าง ๆ ของแต่ละฝ่าย ที่มีอยู่ก่อนสมรสหรือจะมีขึ้นภายหลังจากการสมรสก็ต้องมีการ
จัดระบบใหม่ ซึ่งกฎหมายก็ได้แยกทรัพย์สินออกเป็น ๒ ประเภท คือ

          ๑.๑ สินส่วนตัว (สินเดิม)
          ๑.๒ สินสมรส

          ๑.๑ สินส่วนตัว กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
               (ก) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรสไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เช่น บ้าน ที่ดิน แก้วแหวน เงิน ทอง ถ้ามีอยู่ก่อนสมรสกันแล้ว กฎหมายถือว่าก็เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้นั้น

               (ข) ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับกายตามสมควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น เครื่องใช้สอยส่วนตัว เช่น แว่นตา แปรงสีฟัน เป็นต้น เครื่องประดับกายเช่น สร้อยคอ แหวน กำไล ต่างหู แต่ต้องพิจารณาถึง ฐานะด้วย ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพก็ต้องดูว่าอาชีพนั้นจำเป็นต้อง ใช้เครื่องมืออะไรบ้าง เช่น เป็นหมอก็ต้องมีเครื่องมือตรวจโรคเป็นชาวนาก็ต้องมีเคียว เป็นต้น

               (ค) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาในระหว่างสมรสไม่ว่าโดยการรับ มรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา ในกรณีนี้หมายถึงการได้มาในส่วนตัวโดยแท้ ดังนั้น กฎหมายจึงให้ถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละคนไป เช่น ถ้านายแดงเอ็นดูนางดำ ซึ่งเป็นภริยาของนายขาว ก็เลยยกที่ดินให้ ๑ แปลง กรณีเช่นนี้ การที่นายแดงให้ที่ดินแก่นางดำเป็น เพราะความถูกใจเฉพาะตัวของนายแดงกับนางดำไม่เกี่ยวกับนายขาวเลย ดังนั้นที่ดินแปลงนี้จึงเป็นสินส่วนตัว

               (ง) ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นกฎหมายให้ถือเป็นสินส่วนตัวของหญิง นอกจากนี้ถ้าทรัพย์สินดังกล่าวได้เปลี่ยนสภาพไปเช่น ขายไปได้เงินมา เงินนั้นก็กลายมาเป็นสินส่วนตัวเช่นกัน หรือเอาเงินที่เป็นสินส่วนตัวไปซื้อของของนั้นก็กลายเป็นสินส่วนตัวด้วย

          ๑.๒ สินสมรส กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
               (ก) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส หมายถึง ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่เป็น
สินส่วนตัวแล้ว ถ้าคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายใดได้มาก็ถือว่าเป็นสินสมรสทั้งสิ้น เช่น เงินเดือน โบนัส เงินรางวัลจากลอตเตอรี่ เป็นต้น

               (ข) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาในระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้ที่
ทำเป็นหนังสือแต่พินัยกรรมหรือหนังสือยกให้นั้นต้องระบุว่าให้เป็นสินสมรสด้วย
      กรณีนี้ต่างกับในเรื่องสินส่วนตัว เพราะว่าการให้หรือพินัยกรรมนั้นต้องระบุชัดว่า ให้เป็นสินสมรส ถ้าไม่ระบุก็ถือเป็นสินส่วนตัว

               (ค) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว คำว่า "ดอกผล" หมายถึงผลประโยชน์ที่ได้
จากทรัพย์นั้นซึ่งอาจเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นจากความผูกพันตามกฎหมายก็ได้ เช่น มีแม่วัว ลูกวัวก็เป็นดอกผลธรรมชาติ มีรถแล้วเอารถไปให้เขาเช่า ค่าเช่าก็เป็นดอกผลที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาระกฎหมายไทย เรื่อง กฏหมายครอบครัว ว่าด้วยบิดามารดากับบุตร

บิดามารดากับบุตร

1. บุตรชอบด้วยกฎหมาย กรณี ที่เกิดปัญหามีเฉพาะว่าบุตรที่เกิดมาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาหรือไม่ ซึ่งจะมีผลไปถึงอำนาจปกครองของบิดา ค่าอุปกรณ์เลี้ยงดูและการรับมรดกส่วนมรดกนั้นไม่มีปัญหา กล่าวคือ กฎหมายบัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
       
     บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา มีได้ 3 ประการคือ
(1) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ทำการสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
(2) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ต่อมาบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง
(3) บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรของบิดา

     นอกจาก  3   กรณีดังกล่าวแล้วจะมีบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาอีกไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าบิดาแสดงพฤติการณ์รับรองว่าเป็นบุตร (ไม่ได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร) เช่น ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูให้ใช้ชื่อสกุล เป็นต้น บุตรดังกล่าวมีสิทธิรับมรดกของบิดาเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ต่างกันแต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย เช่น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
       
2. สิทธิ หน้าที่ ของบิดามารดาและบุตร
(1) บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุล
(2) บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์
(3) บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
(4) บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองหรือสิทธิของบิดามารดา ได้แก่
       ก.กำหนดที่อยู่ของบุตร
       ข.ทำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
       ค.ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
       ง.เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่น ๆ ซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(5) ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ กล่าวคือลูก หลาน (ลูกของลูก) จะฟ้องพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และทวดของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ ซึ่งแต่ก่อนเรียกคดีประเภทนี้ว่า “อุทลุม”
มรณะบัตร เป็นเอกสารสำคัญทางราชการซึ่งเป็นหลักฐานรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
       
3. การย้ายที่อยู่ เมื่อย้ายที่อยู่ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งดังต่อไปนี้
(1)เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้านให้แจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก
(2)เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่บ้านให้แจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันสร้างเสร็จ เพื่อขอเลขหมายประจำบ้านการแจ้งการสร้างบ้านใหม่และการรื้อถอนบ้านไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
       
ความผิด ไม่แจ้งตามข้อ (1)  (2) ภายในกำหนด มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
       
สถานที่แจ้งขอเลขบ้าน      กรณีสร้างบ้านใหม่และการแจ้งรื้อถอนบ้าน
(1)ในเขตเทศบาล ให้แจ้งขอเลขบ้านกรณีสร้างบ้านใหม่หรือแจ้งรื้อถอนบ้านที่สำนักงานเทศบาล
(2)นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งขอเลขบ้านกรณีสร้างบ้านใหม่หรือแจ้งรื้อถอนบ้านที่ที่ว่าการอำเภอหรือที่ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้าน
(3)ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งขอเลขบ้านกรณีสร้างบ้านใหม่หรือแจ้งรื้อถอนบ้านที่สำนักงานเขต

สาระกฎหมายไทย เรื่อง การหมั้นและการสมรส

การหมั้นและการสมรส

    1. การหมั้น การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้ แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้หญิง การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 บริบูรณ์แล้ว
    ผู้ เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ กล่าวคือ เมื่อหมั้นกันแล้วฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรสด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องบังคับไม่ได้ แต่อาจฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายได้
    กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจะทำการสมรสได้ต่อเมื่อมีการหมั้นกันก่อน ฉะนั้นชายหญิงอาจทำการสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นก็ได้

    ของหมั้น เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรส กับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย   

    สินสอด  เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจ สมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

    2. เงื่อนไขแก่งการสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ เช่น ชายหรือหญิงหรือทั้งสองคนอายุไม่ครบ 17 ปีบ ริบูรณ์ แต่มีความจำเป็นต้องทำการสมรสเพราะต้องเดินทางไปต่างประเทศในฐานะครอบครัว ที่เป็นสามีภรรยากัน ศาลอาจเห็นสมควรอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุครบ 17ด ปีบริบูรณ์



    ข้อห้ามมิให้ทำการสมรส
     1. ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
     2.  ชาย หญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา กรณีเช่นนี้ลูกพี่ลูกน้องแม้จะใช้ชื่อสกุลเดี่ยวกันก็อาจจะทำการสมรสกันได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามไว้
     3.ชายหรือหญิงขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว
     4.ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ การสมรสจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การจดทะเบียนสมรส ตามปกติแล้วจะจด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่เขนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิเลาอยู่
    
     3. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา    สามีภรรยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน
    ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา  ถ้า สามีภริยาได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สินไว้เป็นพิเศษอย่างไรก็ให้เป็น ไปตามนั้น ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็น “สินส่วนตัว” ย่อมเป็น “สินสมรส”

    สินส่วนตัว  ได้แก่  ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา
(4) ที่เป็นของหมั้น สินส่วนตัวของฝ่ายใดถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นซื้อทรัพย์สินอื่นมาหรือขายได้เป็นเงินมา ทรัพย์สินอื่นหรือเงินนั้นเป็นส่วนตัวของฝ่ายนั้น สินส่วนตัวของฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

    สินสมรส ได้แก่  ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบถว่าเป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัวถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

    4. การสิ้นสุดแห่งการสมรส การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนหรือให้หย่า
    ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หมายความว่า การสมรสตกเป็นโมฆียะ เช่น คู่สมรสอายุไม่ครบ 17 ปีบ ริบูรณ์ ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือสำคัญผิดในตัวคู่ สมรสถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ การสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะและเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสนั้นก็สิ้นสุดลง

   
     การหย่า  การ หย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นตัวหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน และจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว
    เหตุฟ้องหย่าเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่ามีหลายกรณี แต่จะยกมากล่าวเฉพาะที่สำคัญ ๆ ดังนี้
    (1)สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีภรรยา หรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (2)สามี หรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยาม อีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรงอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (3)สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (4)สามี หรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือ ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่เป็นอยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (5)สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (6)สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
    (7)สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรื่อง การขาดนัดยื่นคำให้การ


การขาดนัดยื่นคำให้การ

 ........ การขาดนัดยื่นคำให้การนั้น ก่อนอื่นต้องได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยนั้นแล้วและให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน ตาม มาตรา 177 (ป.วิ.พ.) และการส่งหมายนั้นต้องส่งโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย
การส่งหมายเรียกและคำฟ้องตามมาตรา 177 (ป.วิ.พ.) นั้นมีการส่ง อยู่ 2 วิธี คือ
1.การส่งหมายแบบธรรมดา 
2.การส่งโดยวิธือื่น 
การส่งหมายโดยวิธีธรรมดานั้น ผู้ส่งหมายต้องส่งหมายให้กับมือมือของจำเลยโดยตรงและจำเลยได้เซ็นรับหมายนั้นไว้แล้วและให้ถือว่าจำเลยได้รับหมายนั้นแล้วและต้องยื่นคำไห้การเป็นหนังสือต่อศาลภายใน 15 วัน 
ส่วน การส่งหมายโดยวิธีอื่นนั้น คือ การเอาหมายนั้นไปปิดที่บ้านหรือสถานที่ที่จำเลยนั้นมีที่อยู่ตามปัจจุบัน โดยหมายนั้นจะต้องปิดโดยเปิดเผยชัดเเจ้งโดยเปิดเผย เหตุที่ทำเช่นนี้ก็เพราะว่าเมื่อเอาหมายไปส่งที่บ้านจำเลยแล้วจำเลยนั้นไม่อยู่บ้านและหลังจากปิดหมายเรียกให้ถือว่าจำเลยได้รับหมายภายใน 15 วัน และจำเลย ต้องทำคำไห้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน รวม 30 วัน  และ
. หลังจากส่งหมายเรียกให้กับจำเลยเป็นที่เรียบร้อยแล้วตามการส่งหมายเรียกตาม 2 วิธีการข้างต้น โดยชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ โดยชอบด้วยกฎหมาย แล้วจำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 15 วัน หรือตามคำสั่งของศาล ตามมาตรา 197 (ป.วิ.พ.) ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ต้องทำคำร้องขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดสง กล่าวคือ ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำชี้ขาดให้ตน(โจทก์)เป็นฝ่ายชนะคดี โดยการขาดนัดยื่นคำให้การต่อศาลตามมาตรา 198 วรรค 1 (ป.วิ.พ.)
แต่ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 15 วัน ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเป็นดุลพินิจของศาลที่จะจำหน่ายหรือไม่จำหน่ายคดีออกจากสารบบความหรือไม่ก็ได้ตามมาตรา 198 วรรค 2 (ป.วิ.พ.)
ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ยื่นคำขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยการที่จำเลยขาดนัดไม่ยื่นคำไห้การต่อศาล แล้ว ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้ เว้นแต่ ศาลเห็นเสียว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลความผิดและไม่ขัดต่อบทกฎหมาย เช่น สัญญากู้ยืม เป็นต้น ที่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพิพากษาชี้ขาดได้เลยโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว เพราะสัญญากู้ยืมนั้นมีมูลหนี้ความผิดคือเอกสารอันเป็นการกู้ยืมและการพิพากษาชี้ขาดก็ไม่ขัดกับกฎหมายแต่อย่างใด ฉะนั้นศาลจึงไม่ต้องให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียวเพราะ เเค่เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมก็ใช้ได้แล้ว
ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยการที่จำเลยผิดนัดยื่นคำให้การได้เลยตามมาตรา 198 วรรค 1 (ป.วิ.พ.) ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตามมาตรา 198 ทวิ วรรค 1(ป.วิ.พ.)
ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามมาตรา 198 ทวิ วรรค 1 (ป.วิ.พ.) นั้นศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าการนั้นจำเป็นก็ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องคดีที่เกี่ยวกับ
1.สิทธิแห่งสภาพบุคคล
2.สิทธิในครอบครัว
3.คดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
4.ในกรณีที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นหนี้เงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน เช่นหนี้ละเมิด (เป็นต้น น่ะครับ )
แต่ถ้าเป็นเรื่องคดีเกี่ยวกับ 4 เรื่องข้างต้นนี้ ศาลต้องสืบพยานหลักฐานโจทก์เป็นฝ่ายเดียวและศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบเองได้ตามความจำเป็นแห่งความยุติธรรม
ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับ 4 เรื่องนี้เสียแล้วถ้าศาลไมสืบพยานหลักฐานโจทก์ฝ่ายเดียวแล้วมีคำพิพากษาหรือมีคำชี้ขาดเลย จะเป็นการพิพากษาหรือคำชี้ขาดที่มิชอบด้วยกฎหมายทันที
แต่ถ้าเป็นเรื่องในกรณีที่เป็นคดีเกี่ยวกับ
1.สิทธิแห่งสภาพบุคคล
2.สิทธิในครอบครัว
3.คดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
4.ในกรณีที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นหนี้เงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน แล้ว
ถ้าศาลให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ไปฝ่ายเดียวมาแสดงต่อศาล แต่โจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบภายในระยะเวลาที่ศาลนั้นกำหนดไว้ให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ให้ถือเสียว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลความผิด ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ได้ทันที ถ้าจำเลยขาดนัดไม่มาศาลในวันสืบพยาน ไม่ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา...

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาระกฎหมายไทย เรื่อง การถอนการบังคับคดี

การถอนการบังคับคดี
        ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 และ 295 ทวิ บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีต่อไปนี้
        1. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินหรือหาประกัน
        2. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสละสิทธิในการบังคับคดี
        3. คำพิพากษาถูกกลับหรือหมายบังคับคดีถูกยกเลิก
        4. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี

        1. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินหรือหาประกัน
        มาตรา 295 (1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดี หรือถอนโดยคำสั่งศาลแล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีหรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีหรือหา ประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับจำนวนเงินที่จะต้องชำระ เพราะความมุ่งหมายในการบังคับคดีก็เพื่อบังคับเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของ ลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษานำเงินมาวางจนครบถ้วน หรือหาประกันมาจนเป็นที่พอใจของศาลและเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว การดำเนินการบังคับคดีต่อไปก็หมดความจำเป็น
        2. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสละสิทธิในการบังคับคดี
        มาตรา 295 (2) เจ้า หนี้ตามคำพิพากษาได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าตนสละ สิทธิในการบังคับคดี เพราะการบังคับคดีเป็นเรื่องของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากไม่ประสงค์จะบังคับคดีก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
        3. คำพิพากษาถูกกลับหรือหมายบังคับคดีถูกยกเลิก
        มาตรา 295 (3) ถ้า คำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย เมื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีได้ส่งคำสั่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ถ้าคำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีนั้นได้ถูกกลับเพียงบางส่วน การบังคับคดีอาจดำเนินอยู่ต่อไปจนกว่าเงินที่รวบรวมได้นั้นจะพอชำระแก่เจ้า หนี้ตามคำพิพากษา
        4. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี
        มาตรา 295 ทวิ บัญญัติว่า ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิก เฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลสั่งถอนการบังคับคดีนั้นเสีย มาตรา 295 ทวิ เป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ เหตุที่ต้องบัญญัติเช่นนี้ เนื่องจากเดิมในกรณีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะ เวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ไม่มีบทบัญญัติให้ถอนการบังคับคดี แม้กรณีเช่นนี้จะเข้าหลักเกณฑ์การงดการบังคับคดีตามมาตรา 292 แต่การงดการบังคับคดีไม่ทำให้เรื่องเสร็จสิ้นไป และจะถอนการบังคับคดีตามมาตรา 295 ก็ไม่ได้ การบังคับคดีจึงตกค้างอยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถปิดสำนวนการบังคับคดีได้ มาตรา 295 ทวิ จึงเป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขอให้ศาลสั่ง ถอนการบังคับคดี ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดี

สาระกฎหมายไทย เรื่อง การระงับคดีอาญา

             ๑. คดีอาญาเลิกกันโดยยินยอมเสียค่าปรับอย่างสูง  ในคดีอาญาซึ่งมีโทษเล็กน้อย  คือ   มีโทษปรับแต่เพียงสถานเดียว    เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณาคดีนั้นก็เป็นอันเลิกกัน   ตัวอย่าง เช่น บริษัทดอกประดู่ จำกัด  ละเลยไม่ลงคำว่า "จำกัด" ไว้ท้ายชื่อบริษัท ในป้ายสำนักงาน    ซึ่งเป็นความผิดอาญา   ตาม  พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด  สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.๒๔๙๙ มาตรา ๕  ต้องระวางโทษปรับสถานเดียวไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท อย่างนี้เมื่อบริษัทดอกประดู่ จำกัด   ถูกเจ้าพนักงานดำเนินคดีก่อนที่จะนำคดีดังกล่าวขึ้นฟ้องต่อศาล  บริษัทยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงคือ  ๒,๐๐๐ บาทแก่พนักงานเจ้าหน้าที่คดีอาญานั้นก็เป็นอันเลิกกัน
              ๒. คดีอาญาลหุโทษเลิกกันโดยการเปรียบเทียบ  ในคดีอาญาความผิดลหุโทษหรือความผิดอาญาที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ  หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูง
ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือความผิดต่อกฎหมายภาษีอากร ซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินกว่า๑๐,๐๐๐ บาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบแล้ว คดีก็เป็นอันเลิกกัน   ตัวอย่าง  นายแดง เสพสุราจนเมาแล้วประพฤติตนวุ่นวายครองสติไม่ได้ขณะอยู่ในสาธารณะสถานต่าง ๆ ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๗๘ ซึ่งมีอัตราโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท  ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ  เมื่อนายแดงถูกจับส่งพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนได้ทำการเปรียบเทียบปรับนายแดงเป็นเงิน ๑๐๐ บาท มาชำระให้ตามที่พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบ คดีก็เป็นอันเลิกกัน
               ๓. คดีอาญาในความผิดอันยอมความได้ ระงับโดยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องและยอมความ   สำหรับคดีอาญาความผิดอันยอมความได้สามารถระงับคดีได้ ดังนี้
                             (๑) โดยการถอนคำร้องทุกข์  เนื่องจากความผิดอาญาอันยอมความได้นั้น   เจ้าพนักงานจะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ก็ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์(แจ้งความ) ต่อเจ้าพนักงานเสียก่อน   และจะต้องร้องทุกข์ภายในกำหนดเวลา    เดือน  นับแต่วันที่รู้เรื่องการกระทำผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด  ฉะนั้นเมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์และต่อมาเจ้าพนักงานได้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหา ไม่ว่าคดีจะอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน  พนักงานอัยการ  หรือศาล ผู้เสียหายก็มีสิทธิที่จะระงับหรือยกเลิกคดีด้วยวิธีถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ต่อพนักงานอัยการ หรือต่อศาลได้โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานดังกล่าวว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป
                               (๒) โดยการยอมความ สำหรับคดีอาญาอันยอมความได้นี้ เมื่อผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดแล้ว    และไม่ว่าคดีดังกล่าวจะอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน  พนักงานอัยการ  หรือศาล หรือผู้เสียหายก็มีสิทธิที่จะระงับคดีหรือยกเลิกคดีโดยวิธียอมความได้อีกวิธีหนึ่งการยอมความในคดีอาญาดังกล่าวไม่มีแบบวิธีอย่างใด เพียงแต่แสดงหรือกระทำอาการใด ๆ ซึ่งทำให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป ก็เป็นอันใช้ได้แล้ว  ตัวอย่าง เช่น นายขาวยื่นฟ้องนายแดงต่อศาลว่า นายแดงออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และธนาคารได้ปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คให้แก่นายขาว ในระหว่างที่ศาลกำลังกำลังสืบพยานอยู่ นายแดงและนายขาวได้ทำความตกลงต่อหน้าศาลว่า นายแดงจะชดใช้เงินตามเช็คให้นายขาว  นายขาวจึงไม่ติดใจดำเนินคดีกับนายแดงต่อไป  ก็ถือว่าเป็นการายอมความกันแล้ว  ซึ่งมีผลทำให้คดีดังกล่าวระงับไป
                                 (๓) โดยการถอนฟ้อง   คดีอาญาอันยอมความได้บางครั้งผู้เสียหายอาจจะไม่ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  แต่ได้ยื่นฟ้องผู้กระทำความผิดต่อศาลด้วยตนเอง  ในกรณีนี้แม้คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด  เช่น  กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ไม่ว่าในศาลชั้นต้น   ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา หากผู้เสียหายประสงค์จะระงับคดีหรือยกเลิกคดีก็สามารถทำได้โดยการถอนฟ้องได้ ซึ่งเมื่อถอนฟ้องไปแล้วก็จะนำคดีดังกล่าวมาฟ้องอีกไม่ได้  ตัวอย่าง  เช่น  นายดำถูกนายเขียวฉ้อโกงเงินจำนวน ๒,๐๐๐ บาท นายดำจึงได้ ยื่นฟ้องนายเขียวเป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกง ต่อมาศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกนายเขียว ๖ เดือน นายเขียว
อุทธรณ์ ขณะคดีกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์นายเขียวคืนเงินให้แก่นายดำ นายดำจึงถอนฟ้องคดีดังกล่าว ซึ่งก็มีผลทำให้คดีนี้เป็นอันระงับหรือยกเลิกไป นายเขียวไม่ต้องถูกจำคุก ๖ เดือน ตามที่ศาลชั้นต้นตัดสินต่อไป
              ๔. การถอนฟ้องในคดีความผิดอาญาแผ่นดิน สำหรับความผิดอาญาแผ่นดินนั้น เมื่อมีการกระทำผิดดังกล่าวเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถที่จะระงับคดีหรือยกเลิกคดีโดยวิธีการเปรียบเทียบหรือถอนคำร้องทุกข์ หรือยอมความได้ ดังนั้นวิธีที่จะทำให้คดีระงับได้ก็เฉพาะวิธีถอนฟ้องเท่านั้น สำหรับความผิดอาญาแผ่นดิน ผู้มีอำนาจฟ้องร้องผู้กระทำผิดต่อศาล ได้แก่  ผู้เสียหาย  หรือผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายพวกหนึ่ง  และพนักงานอัยการอีกพวกหนึ่ง ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายหรือผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาลแล้ว ขณะที่คดีนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา  ถ้าคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีก็สามารถยกเลิกคดีดังกล่าวโดยการถอนฟ้องได้  ซึ่งก็จะเป็นผลทำให้ผู้เสียหายหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้เสียหายนำคดีดังกล่าวมาฟ้องอีกไม่ได้  แต่อย่างไรก็ตามไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะนำคดีนั้นมาฟ้องอีก ตัวอย่าง  เช่น  นาย ก. ลักทรัพย์ของนาย ข. ไป นาย ข. จึงได้ยื่นฟ้อง นาย ก. ต่อศาลระหว่างที่ศาลกำลังพิจารณาคดีอยู่  นาย ข. ไม่ติดใจจะดำเนินคดีกับนาย ก. ต่อไป  นาย ข. ก็สามารถถอนฟ้องคดีดังกล่าวได้  ซึ่งเป็นผลทำให้คดีนี้ระงับไป  นาย ข. จะยื่นฟ้อง นาย ก. ในเรื่องนี้อีกไม่ได้แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากคดีลักทรัพย์เป็นคดีอาญาแผ่นดิน เมื่อนาย ก. ลักทรัพย์ของนาย ข. ดังกล่าวพนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและจับกุมนาย ก. มาดำเนินคดีได้ แม้ นาย ข. เจ้าทรัพย์จะไม่ได้แจ้งความก็ตาม เมื่อสอบสวนเสร็จ พนักงานอัยการก็มีสิทธิยื่นฟ้องนาย ก. ต่อศาลในข้อหาลักทรัพย์ของนาย ข. อีกได้ แม้นาย ข. จะได้ถอนฟ้องนาย ก. ไปแล้วก็ตาม
                ๕. การดำเนินคดีอาญาจนถึงที่สุด     ในคดีอาญาทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นความผิด ลหุโทษ ความผิดอาญาอันยอมความได้ หรือความผิดอาญาแผ่นดิน  เมื่อไม่สามารถระงับคดีหรือเลิกคดีตามวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจนในที่สุดได้มีการนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล ดังนั้น  เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว และคดีดังกล่าวได้ถึงที่สุด ข้อพิพาทระหว่างผู้เสียหายและจำเลยดังกล่าวก็เป็นอันระงับไปผู้ใดจะนำคดีดังกล่าวมาฟ้องร้องหรือดำเนินคดีกับจำเลยคนเดียวกันกับที่ศาลพิพากษาแล้วอีกไม่ได้เพราะถือว่าบุคคลจะถูกฟ้องซ้ำในการกระทำผิดอันเป็นกรรมเดียวอีกไม่ได้
 ตัวอย่าง  เช่น  นาย ก. ลักทรัพย์ของ นาย ข. จึงถูกจับกุมมาดำเนินคดี พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วส่งสำนวนการสอบสวนมาให้พนักงานอัยการพิจารณา  พนักงานอัยการพิจารณาแล้วมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหา และนำตัวผู้ต้องหาไปยื่นฟ้องเป็นจำเลยต่อศาล ในชั้นศาลจำเลยให้การปฏิเสธ พนักงานอัยการจึงได้นำพยานหลักฐานเข้านำสืบต่อศาล ในที่สุดศาลพิพากษาลงโทษจำคุก นาย ก. มีกำหนด ๑ ปี  นาย ก. พอใจไม่ยื่นอุทธรณ์คดีถึงที่สุด ถือว่าคดีนี้เป็นอันระงับ  ผู้ใดจะนำคดีที่นาย ก. ลักทรัพย์นาย ข. มาฟ้องร้องอีกไม่ได้