สาระของทนายชาวบ้าน.ฝึกหัด

บล็อกนี้...ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนสาระความรู้ระหว่างเพื่อนทั้งในและนอกห้องเรียน หากมีเนื้อหาสาระไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดหรือกระทำการใดๆในทางที่ไม่ดี ทางผู้จัดทำบล็อกนี้ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ...

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

สาระกฎหมายไทย เรื่อง การดำเนินคดีแพ่ง ในศาลชั้นต้น

การดำเนินคดีในศาลชั้นต้น

            การดำเนินคดีแพ่ง เริ่มต้นเมื่อมีการยื่นคำฟ้อง หรือ คำร้องขอเพื่อเริ่มต้นคดีต่อศาล เจ้าหน้าที่รับฟ้องจะตรวจความถูกต้อง ลงเลขคดีดำ คิดค่าธรรมเนียมที่งานการเงิน แล้วเสนอศาล
           เมื่อศาลตรวจเห็นว่าฟ้องถูกต้องจะรับคำร้องส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้ จำเลยหรือปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องเมื่อจำเลยรับหมายเรียกแล้วต้องยื่นคำให้ การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และจะยื่นคำให้การและโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ทันที โดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยาน แต่จำเลยยื่นคำให้การภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลจะตรวจรับคำให้การและ สั่งนัดพร้อมหรือชี้สองสถาน
        ถึง วันนัด ศาลจะกำหนดประเด็นแห่งคดีว่ามีอย่างไร คู่ความฝ่ายไหนมีหน้าที่นำสืบ และใครสืบก่อนสืบหลังอย่างไร เมื่อใดคู่ความมีหน้าที่ ต้องยื่นบัญชีระบุพยานอ้างบุคคลเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อต่อสู้ และนำหรือขอให้ศาลหมายเรียกพยานบุคคลหรือ   ออก คำสั่งเเรียกพยานเอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ เข้าสืบตามวันนัดในวันนัดเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จะรวบรวมสำนวนเอกสารเสนอ ศาล เรียกคู่ความและพยานเข้าห้องพิจารณานำพยานสาบานตนและศาลจะทำการสืบพยาน
     เจ้าหน้าที่จะรวบรวมคำให้การเอกสารและหลักฐานต่างๆเข้าสำนวนหรือแยกเก็บตาม คำสั่งศาลกเมื่อสืบพยานทุกฝ่ายเสร็จแล้วศาลจะนัดฟังคำพิพากษา
      โดยให้โอกาส คู่ ความยื่นคำแถลงการก่อนและเมื่อพยานพิพากษาแล้วต้องนำคำพิพากษาไปลงสารบบและ พิมพ์คำพิพากษาคู่ความที่ไม่พอใจคำพิพากษาอาจอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาไปยังศาล อุทธรณ์ หรือศาลฎีกาได้และเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วหากผู้แพ้คดีไม่ปฎิบัติตามคำพิพากษา ผู้ที่ชนะคดี ชอบที่จะขอให้ศาลออกคำสั่งบังคับ และหมายบังคับคดี เพื่อบังคังให้มีการปฏิบัตตามคำพิพากษาจนครบถ้วน หรือในระหว่างพิจารณาคู่ความอาจยื่นคำร้องขอให้ศาลใช้วิธีการคุ้มครองชั่ว คราวก่อนคำพิพากษาได้
       อย่าง ไรก็ตาม การดำเนินคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่ง อาจมีคดีอาญาที่อาจเกี่ยวข้องกันอยู่ จึงต้องศึกษาและต้องดูข้อเท็จจริง เป็นเรื่องๆไป

สาระกฎหมายไทย เรื่อง วิธีการเรียนกฏหมายด้วยตนเอง



วิธีการเรียนกฎหมายด้วยตนเอง


             เรียนอย่างไร ? หรือ เริ่มอย่างไรดีล่ะ ?เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก และมักเป็นคำถามของเด็กปี 1 เสียส่วนใหญ่


               ต่อไปนี้จะเป็นข้อเสนอแนะวิธีการเรียนกฎหมายของผู้เขียน ถ้าสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ รับรองผลได้ว่า ไม่ มี F แน่ 




1.  อ่านหนังสือก่อนเรียนในภาคนั้น   เพื่อ สำรวจโครงสร้างเนื้อหาของกฎหมายเล่มนั้นว่า เทอมนี้เราจะต้องเจอเรื่องอะไรบ้าง ในแต่ละเล่ม เป็นการสำรวจข้อมูลคร่าว ๆ นั่นเอง จากนั้นก็เริ่มอ่านทีละเล่มที่จะเรียนในเทอมนี้ เพื่อให้เกิดการอยากรู้อยากเห็น เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนเราที่เพิ่งเริ่มเรียนกฎหมายจะอ่านกฎหมายรู้เรื่อง และเข้าใจในทันที เมื่อเกิดอาการไม่เข้าใจ งง ก็จะทำให้อยากถาม เพราะมีคำถามมากมายพุดออกมาจากสมอง ก็จะทำให้อยากค้นคว้าหาคำตอบ อยากเข้าเรียนเพื่อฟังอาจารย์อธิบายขยายความ ยกตัวอย่าง และที่แน่นอนที่สุดอยากถามอาจารย์ว่า “นี่คือ อะไรทำไมถึงตัดสินแบบนี้ ทำไม่ถึงบอกว่าเรื่องแบบนี้ไม่ผิด” หรือ หมายความว่ายังไง ?

             แต่ วิธีการอ่านหนังสือก่อนเรียนนี้ บางคนอาจเบื่อในการเรียนกฎหมายเลยก็ได้เพราะ งง ไม่เข้าใจ รู้สึกหงุดหงิด และไม่มั่นใจว่าจะเรียนจบไหม ?  แต่อยากแนะนำว่า เบื่อได้แต่ให้ความอยากรู้ อยากเห็น มันมีมากกว่าการท้อแท้ เบื่อหน่าย  เวลา อ่านหนังสือให้เริ่มอ่านด้วยความตั้งใจ อยากอ่าน อยากรู้ ถ้าไม่เข้าใจ จะได้อยากค้นคว้า ศึกษาต่อให้เข้าใจ เพื่อไขข้อข้องใจ เหมือนกับการที่เราอ่านพาดหัวข่าว ต่าง ๆ  แล้วเกิด อาการอยากรู้รายละเอียดของข่าวว่าเท็จจริง เป็นยังไงกันแน่ และแม้มีรายละเอียดของข่าว อ่านแล้ว ก็ให้ตั้งคำถามเอาไว้ ว่าจริงหรือเปล่า ? อย่าเพิ่งสรุปอะไร โดยที่ยังไม่ได้ศึกษาเรื่องนั้นอย่างแท้จริงก่อน


2. การเข้าเรียน  เป็น การเข้าฟังคำบรรยายที่อาจารย์ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่อง นั้น ๆ มาบรรยายอธิบายตัวบทกฎหมายให้นิสิต/นักศึกษา ได้เข้าใจเรื่องนั้นได้ง่ายขึ้น การอ่านหนังสือเองโดยไม่มีโอกาสเข้าเรียน ผู้เรียนจะต้องอ่านหนังสือมากกว่าคนที่เข้าเรียน เพราะการเข้าเรียนอาจารย์จะอธิบายยกตัวอย่างให้เห็นภาพและใช้ภาษาพูดซึ่งก็ เข้าใจง่ายกว่าภาษาเขียน

             แต่การเข้าเรียนโดยไม่บันทึกคำบรรยายเลย มีการวิจัยพบว่าสอบไล่ได้ 25 % ส่วนคนที่บันทึกคำบรรยาย สอบไล่ได้ 65 %   เพราะ ผู้ที่บันทึกคำบรรยายไว้ได้มีโอกาสทบทวนเรื่องที่เรียนโดยการบรรยายนั้นหลาย ครั้งก่อนสอบไม่เหมือนคนที่ไม่ได้บันทึกคำบรรยายต้องอาศัยการจำแต่เพียง อย่างเดียว และการบันทึกคำบรรยายเหมือนเป็นการบังคับให้ตั้งใจฟังคำบรรยายตลอดเวลา แต่การบันทึกต้องบันทึกให้ได้เนื้อหาสาระที่ถูกต้อง โดยเป็นภาษาของตัวเองย่อ ๆ เพื่อใช้ในการทบทวนหลังเรียนและก่อนสอบได้ง่าย

             การ บันทึกคำบรรยายนั้นนอกจากบันทึกในสมุดแล้ว ควรบันทึกลงในตัวบท (ประมวลกฎหมาย) ด้วย โดยโน้ตสั้น ๆ เป็นความหมายหรือตัวอย่างประกอบมาตรานั้น ถ้าจะบันทึกฎีกาก็ให้บันทึกเนื้อหาไปด้วยไม่ใช่บันทึกแต่ตัวเลข แล้วบอกว่าจะไปหารายละเอียดทีหลัง เชื่อเถอะว่าความขี้เกียจครอบงำ ตัวเลขมีอยู่อย่างไรก็มีอยู่อย่างนั้นแหละ ฉะนั้นทำอะไรอย่าผัดวันประกันพรุ่ง

3. อ่านทบทวนหลังเรียน   เมื่อ เรียนเสร็จแล้วในวันนั้น ๆ กลับบ้านสิ่งที่จะทำให้ความเข้าใจ ความจำที่เรียนมาวันนี้ยังคงอยู่ ก็คือ การกลับไปทบทวนเรื่องที่เรียนมาวันนี้ โดยอ่านจากการบันทึกคำบรรยายหรืออ่านในตำราอีกรอบ และดูตัวบทไปด้วยทุกครั้งที่มีการอ้างอิงมาตราในตัวบทนั้นก็จะทำให้จำตัวบท ได้อีกด้วย 

4. อ่านก่อนเรียนชั่วโมงหน้า   ก็เหมือนกับข้อ 1. แต่คราวนี้อ่านเฉพาะเรื่องที่ชั่วโมงหน้าจะเรียนทุกวิชา เพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียนเช่นเคย


***วิธีการอ่านหนังสือ***

1.ตั้งใจอ่านหนังสือ อย่างมีสมาธิ  เวลาอ่านไม่ควรลุกเดินไปไหนมาไหนบ่อย ๆ

2.อ่านทุกวัน วันละอย่างน้อย 4 – 5 ชั่วโมง ชั่วโมงล่ะ 15-20 หน้าเป็นอย่างน้อย

3.อ่าน จบแล้วให้ปิดหนังสือแล้วพูดกับตัวเองทบทวนว่าเราได้อะไรบ้างจากการอ่านจบไป 1 เที่ยว ถ้าไม่เข้าใจจะทำให้เราจำไม่ได้ พูดออกมาไม่ได้ ต้องกลับไปอ่านใหม่

4.เมื่อ เราสามารถพูดอธิบายได้ จำได้ ต่อไปก็เอาข้อสอบเก่า ๆ มาลองฝึกทำ เป็นการหัดจับประเด็นคำถามและการเขียนอธิบายว่าพูดได้แล้ว เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรได้ดีหรือไม่ หรือเขียนเป็นไหม

5.เวลา เครียด ๆ ให้นอนหงายหลับตานึกถึงภาพน้ำตกเย็น ๆ หรือ ทะเลสวย ๆ และหาน้ำหวานมาดื่มสักแก้ว/ขนมหวานก็ได้ตามชอบ ผ่อนคลายสักครึ่ง-หนึ่งชั่วโมง คุณก็จะกลับมาอ่านหนังสือได้อีกเยอะเลยล่ะ (อย่าลืมออกกำลังกายพอประมาณ3-4 วัน/สัปดาห์ด้วย)

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

สาระกฎหมายไทย เรื่อง กฏหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน



กฎหมายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน

การพิจารณาความหมายของเด็กกระทำผิด พิจารณาแยกได้เป็นสองส่วน
1. เกณฑ์อายุ
ขั้นต่ำ: อายุต่ำกว่า 7 ปีลงมาไม่มีความผิดอาญา
ขั้นสูง: อายุไม่เกิน 18 ปีขณะกระทำความผิดอยู่ในเกณฑ์ศาลคดีเด็กฯ
2. เกณฑ์การกระทำผิด
ผิดกฎหมายอาญาเป็นความผิดของเด็กโดยเฉพาะ

วิวัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับเด็ก
- กฏหมายฮัมมูราบี: การคุ้มครองเด็ก ความผิด & การลงโทษเด็ก
- กฏหมายสุมาเรียน: ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและการปกครองบุตร
- กฏหมายของชาวฮิบรู: จำแนกเด็กออกเป็น 3 ประเภท 1-6, 7-12, 13-20 ปี
- กฏหมายโรมัน: ไม่เกิน 7 ไม่รับโทษ (เป็นหลักของกฏหมายต่อๆ มา)
- กฏหมายคอมมอนลอว์: อายุ, ความผิด, รู้ถูก/ผิดหรือไม่, เจตนาหรือไม่

เจตนารมณ์ของศาลเยาวชน
1. คุ้มครองสวัสดิภาพ
2. นำความยุติธรรมที่คำนึงถึงลักษณะเฉพาะบุคคลมาใช้
3. นำวิธีแก้ไขที่เหมาะสมมาใช้
4. คุ้มครองสถานภาพครอบครัว

ลักษณะพิเศษของศาลเยาวชน
1. แยกพิจารณาคดี
2. ไม่เครงครัดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความ
3. ผู้พิพากษาต้องมีจิตวิทยาและเข้าใจเด็ก
4. มีบริการแรกรับเพื่อแยกการควบคุม
5. มีเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ
6. สำนวนมีทั้งกฏหมาย และ ประวัติทางสังคมของเด็ก
7. ศาลแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งเด็ดขาดได้

สาระกฎหมายไทย เรื่อง กฏหมายปกครอง



กฎหมายการปกครอง

กฎหมายปกครอง เป็น กฎหมายมหาชน กฎหมายมหาชน เป็น กฎหมายกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน ในฐานนะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปกครองมีอำนาจเหนือเอกชน หรือระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง

กฎหมายปกครอง จึงเป็น กฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารของรัฐ การดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดบริการสารธารณะ และวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน และฝ่ายปกครองด้วยกันเอง รวมทั้งกำหนดสถานะและการกระทำทางปกครอง

ในระบบการปกครองประเทศแบ่งองค์กรที่ใช้อำนาจเป็น 3 ฝ่าย
        - ฝ่ายนิติบัญญัติ
        - ฝ่ายบริหาร
        - ฝ่ายตุลาการ

ฝ่ายปกครองเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในฝ่ายบริหาร งานของฝ่ายบริหารแยกเป็น 2 ส่วน คือ
        1. งานทางการเมือง มีพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านทางคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐบาล ทำหน้าที่กำหนดนโยบายในการใช้ ข้อบังคับกฎหมายต่างๆ
        2. งานทางปกครอง เป็นส่วนที่เรียกว่า ราชการประจำ มีหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายบริหารในส่วนที่เป็นการเมืองกำหนดขึ้น คือ
        - ราชการส่วนกลาง คือ กระทรวง ทบวง กรม
        - ราชการส่วนภูมิภาค คือ จังหวัด อำเภอ
        - ราชการส่วนท้องถิ่น มี 2 รูปแบบ
1. รูปแบบทั่วไป คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล
2. รูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานคร พัทยา
- รัฐวิสาหกิจ
- องค์กรอิสระ เป็นองค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรที่อิสระจากการควบคุมของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) โดยตรง เนื่องจากภารกิจของหน่วยงาน เช่นธนาคารแห่งประเทศไทย
- คณะกรรมการต่างๆ

แนวคิดพื้นฐานของกฎหมายปกครอง คือ ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ
        1. รัฐโดยองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ดูแลรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของคนหมู่มากในสังคมหรือประโยชน์สาธารณะ
        2. ในกรณีที่ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนสอดคล้องกับประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ รัฐก็ใช้นิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนได้
        3. ในกรณีที่ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนไม่สอดคล้องกับประโยชน์สาธารณะจะต้องให้ประโยชน์สาธารณะอยู่เหนือประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน
        4. ถ้าเอกชนไม่ยินยอมที่จะสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็จะต้องให้รัฐโดยองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีอำนาจบังคับเอกชนเพื่อประโยชน์สาธารณะได้

กิจกรรมของฝ่ายปกครอง แบ่งเป็น
        1. การกระทำทางแพ่ง คือ สัญญาทางแพ่ง เช่นองค์กรของรัฐซื้อคอมพิวเตอร์
        2. การกระทำทางปกครอง คือ ผลิตผลของการใช้อำนาจรัฐตามกฎหมายขององค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายปกครอง

การกระทำทางปกครอง แบ่งเป็น
        1. นิติกรรมทางปกครอง
        2. ปฏิบัติการทางปกครอง

ประเภทของนิติกรรมทางปกครอง
กฎ เป็นบทบัญญัติที่มีผลเป็นการบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ เช่นพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่งทางปกครอง เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว ที่มีผลบังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
สัญญาทางปกครอง
คำนิยาม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

คำสั่งทางปกครอง
คำสั่งทางปกครอง เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสภาพของสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว ที่มีผลบังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัย การรับรองและการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

สรุป คำสั่งทางปกครอง คือ ข้อความที่บังคับให้บุคคลกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออนุญาตให้การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งขาดลักษณะข้อใดข้อหนึ่งของกฎ แต่ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งทางปกครองหรือกฎก็ล้วนแต่เป็นนิติกรรมทางปกครองทั้งสิ้น