สาระของทนายชาวบ้าน.ฝึกหัด

บล็อกนี้...ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนสาระความรู้ระหว่างเพื่อนทั้งในและนอกห้องเรียน หากมีเนื้อหาสาระไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดหรือกระทำการใดๆในทางที่ไม่ดี ทางผู้จัดทำบล็อกนี้ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ...

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

สาระกฎหมายไทย เรื่อง การสมรสที่เป็น โมฆะ


       การสมรสที่เป็นโมฆะ
คำว่า "โมฆะ" นี้หมายความว่า เสียเปล่า ไม่มีผลใด ๆ ทางกฎหมายเลย ดังนั้น การสมรสที่เป็นโมฆะ จึงไม่มีผลใด ๆ ตามกฎหมายเลย แต่เนื่องจากกฎหมายครอบครัว เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานะของบุคคล และเกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน กฎหมายจึงกำหนดว่า การสมรสที่เป็นโมฆะนั้นโดยทั่วไปแล้ว บุคคลใดจะนำ ขึ้นมากล่าวอ้างไม่ได้ เว้นแต่ศาล จะได้แสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะเสียก่อน ยกเว้นกรณีการสมรสซ้อนกฎหมายกำหนดให้ ผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะกล่าวอ้าง ขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ ในกรณีที่กฎหมายไม่ได้ให้ สิทธิในการกล่าวอ้างและศาลยังไม่พิพากษา แสดงความเป็นโมฆะของการสมรสชายหญิงคู่นั้นก็ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ตามปกติ

      ๑. เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ
          ๑.๑ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องการห้ามสมรสซ้อน
          ๑.๒ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องการห้ามสมรสกับบุคคลวิกลจริต
          ๑.๓ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องการสมรสระหว่างญาติสนิท
          ๑.๔ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข เรื่องความยินยอมของคู่สมรสเอง

       ๒. ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ กฎหมายให้สิทธิแก่ "ผู้มีส่วนได้เสีย"
หรือ "อัยการ" ก็ได้ คำว่า"ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ถ้าหากการสมรสนั้น
ยังไม่ถูกศาลสั่งแสดงความเป็นโมฆะ เช่น ตัวคู่สมรสเอง หรือภริยาเดิมกรณีจดทะเบียนซ้อน

       ๓. ผลเมื่อศาลได้แสดงความเป็นโมฆะแล้ว เมื่อศาลได้แสดงความเป็นโมฆะของการสมรสแล้ว คำพิพากษามีผลดังนี้

          ๓.๑ ในเรื่องทรัพย์สิน ถือว่าไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตั้งแต่สมรส
          ๓.๒ ในเรื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสามีภริยา กฎหมายเห็นว่าไม่มีทางที่จะให้กลับสู้สภาพเดิมได้ คือจะถือว่าไม่มี ความสัมพันธ์ต่อกันเลยตั้งแต่แรกไม่ได้ ดังนั้นจึงให้มีผลนับแต่ วันฎีกาศาลได้แสดง ความเป็นโมฆะ แต่อย่างไรก็ตาม หากคู่สมรส ฝ่ายที่สุจริตได้สิทธิใด ๆ มาจากการสมรสก่อนที่ศาล จะมีคำพิพากษาก็ไม่เสียสิทธินั้นไป เช่น สิทธิในการรับมรดกของสามที่เกิด ีจากการสมรสที่เป็นโมฆะ ย่อมไม่เสียไป หากตนสมรสโดยสุจริต นอกจากนี้ถ้าหากชายหรือหญิงฝ่ายเดียว เป็นฝ่ายสมรสโดยสุจริต ฝ่ายนั้น ก็ยังมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากฝ่ายที่ไม่สุจริตได้ เช่น ชายมาหลอกหญิงว่าตนไม่เคยมีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อน กรณีนี้เมื่อศาลแสดงความเป็นโมฆะแล้ว หญิงสามารถเรียกค่าทดแทนจากชายได้ และถ้าฝ่ายที่สุจริตนั้นยากจนลง ไม่มีรายได้จากทรัพย์สินหรือจากงานที่เคยทำ ก่อนมีคำพิพากษาของศาลคู่สมรสฝ่ายนั้นก็ยังมีสิทธิเรียกร้อง ค่าเลี้ยงชีพได้อีกด้วย
          ๓.๓ ผลต่อบุตร เด็กที่เกิดระหว่างการสมรสที่เป็นโมฆะหรือเกิดภายใน ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่ศาลสั่ง แสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ กฎหมายสันนิษฐานว่า เป็นลูกของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี

2 ความคิดเห็น:

  1. ดิฉันกับสามีทำสัญญาก่อนสมรสกัน แต่ต่อมาทำสัญญาระหว่างสมรสอีก ทนายความคดีครอบครัว ฝั่งสามีบอกว่า สัญญาระหว่างสมรสไม่มีผลดีไปกว่าสัญญาก่อนสมรส เพราะบอกล้างเมื่อไหร่ก้ได้ ก็มีปัญหาภายหลัง แบบนี้ทำไงได้บ้างคะ

    ตอบลบ
  2. ดิฉันกับสามีทำสัญญาก่อนสมรสกัน แต่ต่อมาทำสัญญาระหว่างสมรสอีก ทนายความคดีครอบครัว (www.lawfirm.in.th) ฝั่งสามีบอกว่า สัญญาระหว่างสมรสไม่มีผลดีไปกว่าสัญญาก่อนสมรส เพราะบอกล้างเมื่อไหร่ก้ได้ ก็มีปัญหาภายหลัง แบบนี้ทำไงได้บ้างคะ

    ตอบลบ