สาระของทนายชาวบ้าน.ฝึกหัด

บล็อกนี้...ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนสาระความรู้ระหว่างเพื่อนทั้งในและนอกห้องเรียน หากมีเนื้อหาสาระไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดหรือกระทำการใดๆในทางที่ไม่ดี ทางผู้จัดทำบล็อกนี้ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ...

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาระกฎหมายไทย เรื่อง กฏหมายครอบครัว เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา


ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
เมื่อการสมรสนั้นมีการจดทะเบียนและไม่เข้าข้อห้ามตามกฎหมายข้ออื่นแล้ว การสมรสนั้น
ก็จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันต่าง ๆ
 ดังนี้ ความสัมพันธ์ระหว่าง สามีภริยา ซึ่งมีผลแยกได้ ๒ ประการคือ

          - ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน
          - ความสัมพันธ์ส่วนตัว

          ๑. ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน เมื่อชายหญิงคู่นั้นได้ทำการสมรสกันตามกฎหมายแล้ว
ทรัพย์สินต่าง ๆ ของแต่ละฝ่าย ที่มีอยู่ก่อนสมรสหรือจะมีขึ้นภายหลังจากการสมรสก็ต้องมีการ
จัดระบบใหม่ ซึ่งกฎหมายก็ได้แยกทรัพย์สินออกเป็น ๒ ประเภท คือ

          ๑.๑ สินส่วนตัว (สินเดิม)
          ๑.๒ สินสมรส

          ๑.๑ สินส่วนตัว กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
               (ก) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรสไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เช่น บ้าน ที่ดิน แก้วแหวน เงิน ทอง ถ้ามีอยู่ก่อนสมรสกันแล้ว กฎหมายถือว่าก็เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้นั้น

               (ข) ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับกายตามสมควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น เครื่องใช้สอยส่วนตัว เช่น แว่นตา แปรงสีฟัน เป็นต้น เครื่องประดับกายเช่น สร้อยคอ แหวน กำไล ต่างหู แต่ต้องพิจารณาถึง ฐานะด้วย ส่วนเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพก็ต้องดูว่าอาชีพนั้นจำเป็นต้อง ใช้เครื่องมืออะไรบ้าง เช่น เป็นหมอก็ต้องมีเครื่องมือตรวจโรคเป็นชาวนาก็ต้องมีเคียว เป็นต้น

               (ค) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาในระหว่างสมรสไม่ว่าโดยการรับ มรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา ในกรณีนี้หมายถึงการได้มาในส่วนตัวโดยแท้ ดังนั้น กฎหมายจึงให้ถือเป็นสินส่วนตัวของแต่ละคนไป เช่น ถ้านายแดงเอ็นดูนางดำ ซึ่งเป็นภริยาของนายขาว ก็เลยยกที่ดินให้ ๑ แปลง กรณีเช่นนี้ การที่นายแดงให้ที่ดินแก่นางดำเป็น เพราะความถูกใจเฉพาะตัวของนายแดงกับนางดำไม่เกี่ยวกับนายขาวเลย ดังนั้นที่ดินแปลงนี้จึงเป็นสินส่วนตัว

               (ง) ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นกฎหมายให้ถือเป็นสินส่วนตัวของหญิง นอกจากนี้ถ้าทรัพย์สินดังกล่าวได้เปลี่ยนสภาพไปเช่น ขายไปได้เงินมา เงินนั้นก็กลายมาเป็นสินส่วนตัวเช่นกัน หรือเอาเงินที่เป็นสินส่วนตัวไปซื้อของของนั้นก็กลายเป็นสินส่วนตัวด้วย

          ๑.๒ สินสมรส กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
               (ก) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรส หมายถึง ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่เป็น
สินส่วนตัวแล้ว ถ้าคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายใดได้มาก็ถือว่าเป็นสินสมรสทั้งสิ้น เช่น เงินเดือน โบนัส เงินรางวัลจากลอตเตอรี่ เป็นต้น

               (ข) ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาในระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้ที่
ทำเป็นหนังสือแต่พินัยกรรมหรือหนังสือยกให้นั้นต้องระบุว่าให้เป็นสินสมรสด้วย
      กรณีนี้ต่างกับในเรื่องสินส่วนตัว เพราะว่าการให้หรือพินัยกรรมนั้นต้องระบุชัดว่า ให้เป็นสินสมรส ถ้าไม่ระบุก็ถือเป็นสินส่วนตัว

               (ค) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว คำว่า "ดอกผล" หมายถึงผลประโยชน์ที่ได้
จากทรัพย์นั้นซึ่งอาจเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดขึ้นจากความผูกพันตามกฎหมายก็ได้ เช่น มีแม่วัว ลูกวัวก็เป็นดอกผลธรรมชาติ มีรถแล้วเอารถไปให้เขาเช่า ค่าเช่าก็เป็นดอกผลที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น