สาระของทนายชาวบ้าน.ฝึกหัด

บล็อกนี้...ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน รายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนสาระความรู้ระหว่างเพื่อนทั้งในและนอกห้องเรียน หากมีเนื้อหาสาระไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดหรือกระทำการใดๆในทางที่ไม่ดี ทางผู้จัดทำบล็อกนี้ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ...

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรื่อง การขาดนัดยื่นคำให้การ


การขาดนัดยื่นคำให้การ

 ........ การขาดนัดยื่นคำให้การนั้น ก่อนอื่นต้องได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยนั้นแล้วและให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน ตาม มาตรา 177 (ป.วิ.พ.) และการส่งหมายนั้นต้องส่งโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย
การส่งหมายเรียกและคำฟ้องตามมาตรา 177 (ป.วิ.พ.) นั้นมีการส่ง อยู่ 2 วิธี คือ
1.การส่งหมายแบบธรรมดา 
2.การส่งโดยวิธือื่น 
การส่งหมายโดยวิธีธรรมดานั้น ผู้ส่งหมายต้องส่งหมายให้กับมือมือของจำเลยโดยตรงและจำเลยได้เซ็นรับหมายนั้นไว้แล้วและให้ถือว่าจำเลยได้รับหมายนั้นแล้วและต้องยื่นคำไห้การเป็นหนังสือต่อศาลภายใน 15 วัน 
ส่วน การส่งหมายโดยวิธีอื่นนั้น คือ การเอาหมายนั้นไปปิดที่บ้านหรือสถานที่ที่จำเลยนั้นมีที่อยู่ตามปัจจุบัน โดยหมายนั้นจะต้องปิดโดยเปิดเผยชัดเเจ้งโดยเปิดเผย เหตุที่ทำเช่นนี้ก็เพราะว่าเมื่อเอาหมายไปส่งที่บ้านจำเลยแล้วจำเลยนั้นไม่อยู่บ้านและหลังจากปิดหมายเรียกให้ถือว่าจำเลยได้รับหมายภายใน 15 วัน และจำเลย ต้องทำคำไห้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน รวม 30 วัน  และ
. หลังจากส่งหมายเรียกให้กับจำเลยเป็นที่เรียบร้อยแล้วตามการส่งหมายเรียกตาม 2 วิธีการข้างต้น โดยชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ โดยชอบด้วยกฎหมาย แล้วจำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ 15 วัน หรือตามคำสั่งของศาล ตามมาตรา 197 (ป.วิ.พ.) ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแล้ว โจทก์ต้องทำคำร้องขอต่อศาลภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การได้สิ้นสุดสง กล่าวคือ ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำชี้ขาดให้ตน(โจทก์)เป็นฝ่ายชนะคดี โดยการขาดนัดยื่นคำให้การต่อศาลตามมาตรา 198 วรรค 1 (ป.วิ.พ.)
แต่ถ้าโจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 15 วัน ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเป็นดุลพินิจของศาลที่จะจำหน่ายหรือไม่จำหน่ายคดีออกจากสารบบความหรือไม่ก็ได้ตามมาตรา 198 วรรค 2 (ป.วิ.พ.)
ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ยื่นคำขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยการที่จำเลยขาดนัดไม่ยื่นคำไห้การต่อศาล แล้ว ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่ได้ เว้นแต่ ศาลเห็นเสียว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลความผิดและไม่ขัดต่อบทกฎหมาย เช่น สัญญากู้ยืม เป็นต้น ที่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยพิพากษาชี้ขาดได้เลยโดยไม่ต้องสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียว เพราะสัญญากู้ยืมนั้นมีมูลหนี้ความผิดคือเอกสารอันเป็นการกู้ยืมและการพิพากษาชี้ขาดก็ไม่ขัดกับกฎหมายแต่อย่างใด ฉะนั้นศาลจึงไม่ต้องให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานโจทก์ไปฝ่ายเดียวเพราะ เเค่เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมก็ใช้ได้แล้ว
ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยการที่จำเลยผิดนัดยื่นคำให้การได้เลยตามมาตรา 198 วรรค 1 (ป.วิ.พ.) ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตามมาตรา 198 ทวิ วรรค 1(ป.วิ.พ.)
ในการพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามมาตรา 198 ทวิ วรรค 1 (ป.วิ.พ.) นั้นศาลอาจสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์หรือพยานหลักฐานอื่นไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าการนั้นจำเป็นก็ได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องคดีที่เกี่ยวกับ
1.สิทธิแห่งสภาพบุคคล
2.สิทธิในครอบครัว
3.คดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
4.ในกรณีที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นหนี้เงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน เช่นหนี้ละเมิด (เป็นต้น น่ะครับ )
แต่ถ้าเป็นเรื่องคดีเกี่ยวกับ 4 เรื่องข้างต้นนี้ ศาลต้องสืบพยานหลักฐานโจทก์เป็นฝ่ายเดียวและศาลอาจเรียกพยานหลักฐานอื่นมาสืบเองได้ตามความจำเป็นแห่งความยุติธรรม
ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับ 4 เรื่องนี้เสียแล้วถ้าศาลไมสืบพยานหลักฐานโจทก์ฝ่ายเดียวแล้วมีคำพิพากษาหรือมีคำชี้ขาดเลย จะเป็นการพิพากษาหรือคำชี้ขาดที่มิชอบด้วยกฎหมายทันที
แต่ถ้าเป็นเรื่องในกรณีที่เป็นคดีเกี่ยวกับ
1.สิทธิแห่งสภาพบุคคล
2.สิทธิในครอบครัว
3.คดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
4.ในกรณีที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นหนี้เงินอันไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน แล้ว
ถ้าศาลให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ไปฝ่ายเดียวมาแสดงต่อศาล แต่โจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบภายในระยะเวลาที่ศาลนั้นกำหนดไว้ให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ไปฝ่ายเดียว ให้ถือเสียว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูลความผิด ให้ศาลยกฟ้องโจทก์ได้ทันที ถ้าจำเลยขาดนัดไม่มาศาลในวันสืบพยาน ไม่ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น