ความแตกต่างระหว่าง Civil law กับ common law
ระบบกฎหมายต่างๆของโลกมีอยู่หลายระบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับการแบ่งแยกของกลุ่มประเทศที่ใช้ แต่ในที่นี้จะขอแบ่งระบบกฎหมายที่สำคัญที่นิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างสากลในโลกเพียง ๒ ระบบด้วยกัน คือระบบกฎหมายCivil law และ Common law
ระบบกฎหมาย Civil law คือระบบกฎหมายหลักของโลกอีกระบบหนึ่งซึ่งมีที่มาและลักษณะสำคัญที่พอสรุปได้ดังนี้
๑.ระบบ Civil law คือระบบกฎหมายลายลักษณ์ที่ถือกำเนิดขึ้นในชนชาติโรมันเป็นชนชาติแรกซึ่งได้ถือว่าเป็นระบบกฎหมายที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมเกือบทุกประเทศกว่าครึ่งโลกเลยทีเดียว ซึ่งในสมัยโรมันจะรู้กันเฉพาะในกลุ่มชนชั้นกลางและขุนนางเท่านั้น ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันในเรื่องของการรับรู้และรับทราบกฎหมาย เมื่อเป็นดังนั้นกลุ่มชนชั้นต่ำหรือประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจึงได้พากันออกมาเรียกร้องสิทธิ์ในการที่จะได้รับรู้รับทราบกระบวนการของกฎหมาย จึงก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้น เหล่ากษัตริย์และขุนนางในสมัยนั้นจึงได้แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการนำกฎหมายข้อบังคับทั้งหมดมาสลักตีตราลงในแผ่นทองแดงขนาดใหญ่เป็นลายลักษณ์อักษร จำนวน ๑๒ แผ่น แล้วนำไปวาง ณ จุดต่างๆที่สามารถอ่านได้เพื่อให้ประชาชนหรือผู้ที่สันจรไปมาได้อ่านและศึกษา ซึ่งเราเรียกกฎหมายที่สลักตีตราลงบนแผ่นทองแดงทั้ง ๑๒ แผ่นนั้นว่า กฎหมาย๑๒ โต๊ะ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาโรมันก็ได้เริ่มใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรมาตลอด จนกระทั่งถึงสมัย พระเจ้าจัสติเนียน กษัตริย์โรมันในสมัยนั้น ก็ได้มีการสร้างประมวลกฎหมายขึ้นมาเป็นฉบับแรกของโลก เพื่อให้ง่ายแก่การศึกษาทำความเข้าใจ ซึ่งประมวลกฎหมายฉบับแรกนี้มีชื่อว่า ประมวลกฎหมายจัสติเนียน และได้ใช้ประมวลกฎหมายดังกล่าวเรื่อยๆมาจนกระทั่งได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งเป็นประมวลกฎหมายที่มีชื่อว่า ประมวลกฎหมายCorpus Juris Civilis ซึ่งประมวลกฎหมายนี้ก็ได้ใช้เรื่อยมาตลอดจนกระทั่งถึงยุคอาณาจักรโรมันล่มสลายลง ประเทศอิตาลีก็ได้เข้ามารับเอาระบบกฎหมายโรมันมาใช้ในชนชาติของตน จนเหล่านานาอารยประเทศทั้งหลายต่างได้ให้คำชมแก่อิตาลีว่า เป็นประเทศที่มีระบบกฎหมายที่เข้มแข็งและที่ดีที่สุด เมื่อเป็นดังคำชมเช่นว่านั้น เยอรมันก็เป็นอีกชนชาติหนึ่งที่ได้มีการนำระบบกฎหมายดังกล่าวมาใช้โดยเริ่มคัดลอกเอาจากกฎหมายอิตาลีเพื่อนำมาใช้ในชนชาติของตน จนเกิดเป็นกฎหมายอีกระบบหนึ่งที่เรียกว่า ระบบกฎหมายโรมาเยอรมานิค เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ ๒ ประเทศดังกล่าว
หลังจากนั้นเป็นต้นมาระบบกฎหมายดังกล่าวก็ได้แผ่ขยายออกไปเกือบทั่วทั้งโลก คือเกือบทุกประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทยก็ได้มีการมาคัดลอกนำระบบกฎมายดังกล่าวนี้ไปใช้กันอย่างแพร่หลายจนในที่สุดระบบกฎหมาย Civil law ได้กลายเป็นระบบกฎหมายหลักของโลกอีกระบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างสากลเกือบทั่วโลก
๒.ระบบกฎหมาย Civil law ต้องมีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะเริ่มต้นจากการที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรบังคับ
๓.ระบบกฎหมาย Civil law ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นเพียงตัวอย่างหรือแนวทางในการตัดสิน ตีความคดีเท่านั้นแม้คดีหลังจะมีข้อเท็จจริงที่เหมือนกับคดีแรก ศาลก็ไม่จำเป็นต้องตัดสินคดีเหมือนกัน
๔.ระบบกฎหมาย Civil law ใช้ในเกือบทุกประเทศ เช่น ไทย สวิสฯ สเปน โปรตุเกส ญี่ปุ่น เป็นต้น แต่ยกเว้นประเทศอังกฤษ และประเทศที่เป็นอาณานิคมหรือเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
เมื่อเราทราบถึงความเป็นมาและลักษณะที่สำคัญของระบบกฎหมาย Civil law แล้วต่อไปจะเป็นการกล่าวถึงระบบกฎหมาย Common law
ระบบกฎหมาย Common law คือระบบกฎหมายอีกระบบหนึ่งที่เป็นระบบกฎหมายหลักของโลกที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับระบบกฎหมาย Civil law ที่มีที่มาและลักษณะสำคัญที่พอสรุปได้ดังนี้
๑.ระบบกฎหมาย Common law เป็นระบบกฎหมายที่ถือกำเนิดขึ้นในชนชาติอังกฤษ ที่เกิดจากจารีประเพณีในท้องถิ่นและคำพิพากษาของศาลเป็นสำคัญ ซึ่งในสมัยนั้นชนชาติอังกฤษมีการอยู่อย่างเป็นชนเผ่า ซึ่งมีหลายชนเผ่าด้วยกัน และในแต่ละชนเผ่านั้นก็ต่างมีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้นในชนเผ่าก็จะใช้จารีตประเพณีเผ่าของตนตัดสินกันเอง แต่แล้วปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อเวลาเป็นปัญหาพิพาทกันระหว่างชนเผ่าจะใช้จารีตประเพณีของชนเผ่าใดตัดสินจึงจะก่อให้เกิดความยุติธรรมมากที่สุด
เมื่อความทราบไปถึงกษัตริย์ในสมัยนั้นคือพระเจ้าวิลเลียม พระองค์ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้มีคำสั่งให้จัดตั้งศาลขึ้นมาศาลหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ออกไปตัดสินคดีความให้แก่ราษฎร์ในเขตท้องถิ่นที่มีปัญหาพิพาทกันไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ซึ่งศาลนั้นมีชื่อว่า ศาลหลวงของพระมหากษัตริย์ ในการตัดสินคดีความของศาลหลวงนั้นจะใช้จารีตประเพณีเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นสากลในสมัยนั้น ไม่ว่าจะตัดสินที่ใดก็จะใช้จารีตประเพณีมาตรฐานเดียวกันหมด ซึ่งการตัดสินในแต่ละครั้งก็เป็นที่ยอมรับของคนในสมัยนั้น จนในที่สุดจารีตประเพณีดังกล่าวก็ได้กลายเป็นจารีตประเพณีเพียงหนึ่งเดียวของอังกฤษ ที่เรียกว่าจารีตประเพณีที่เป็นสามัญหรือ Common นั่นเองด้วยเหตุนี้เองจึงต้องเรียกระบบกฎหมายนี้ว่า ระบบกฎหมาย Common law
๒.ระบบกฎหมาย Common law ไม่ต้องมีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพราะระบบกฎหมาย Common lawไม่ได้มาจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรแต่มาจากจารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาล
๓.ระบบกฎหมาย Common law ถือคำพิพากษาของศาลนั้นเป็นกฎหมาย หากข้อเท็จจริงในคดีหลังเหมือนกับข้อเท็จจริงในคดีแรก ศาลต้องตัดสินเช่นเดียวกับคำพิพากษาของศาลในคดีแรกหรือคดีก่อนๆเพราะคำพิพากษาของศาลถือเป็นกฎหมาย
๔.ระบบกฎหมาย Common law ใช้ในประเทศอังกฤษและเครือจักรภพ เช่น สหรัฐฯ แคนนาดา มาเลเซีย สิงค์โปร ฮ่องกง เป็นต้น
เมื่อเราทราบถึงความเป็นมาและลักษณะที่สำคัญของระบบกฎหมายทั้ง ๒ ระบบแล้ว เราสามารถแยกความแตกต่างของกฎหมายทั้ง ๒ ระบบได้ดังนี้
๑)ระบบกฎหมาย Civil law เป็นระบบกฎหมายที่มาจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรและถือกำเนิดขึ้นในชนชาติโรมันเป็นชนชาติแรก
ระบบกฎหมาย Common law เป็นระบบกฎหมายที่มาจากจารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาล และถือกำเนิดขึ้นในชนชาติอังกฤษ
๒)ระบบกฎหมาย Civil law ต้องมีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพราะเริ่มแรกใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรบังคับ
ระบบกฎหมาย Common law ไม่ต้องมีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพราะเริ่มแรกมิได้ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรบังคับแต่ใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมาย
๓)ระบบกฎหมาย Civil law ถือว่าคำพิพากษาของศาลเป็นเพียงตัวอย่างหรือแนวทางในการตัดสินตีความเท่านั้นแม้ข้อเท็จจริงจะเหมือนกันก็ไม่จำเป็นต้องตัดสินให้เหมือนกันหรือเข้าใจง่ายๆคือไม่ถือคำพิพากษาเป็นกฎหมาย
ระบบกฎหมาย Common law ถือคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมาย ถ้าข้อเท็จจริงมีมูลเหมือนกันต้องตัดสินตามคำพิพากษาคดีแรกหรือคดีก่อนๆ
๔)ระบบกฎหมาย Civil law ใช้ในทุกประเทศเกือบทั้งโลก เช่น ไทย สวิสฯ ญี่ปุ่น สเปน โปรตุเกส เป็นต้น ยกเว้นประเทศอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพของอังกฤษ
ระบบกฎหมาย Common law ใช้ในประเทศอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพ เช่น สหรัฐฯ แคนนาดา มาเลเซีย สิงค์โปร ฮ่องกง เป็นต้น
เรียบเรียงโดย
บุญเกิด ปะระทัง
๑๐ ต.ค.๒๕๕๓
ที่มา: นิติวิญญูชน
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขอบคุณมากๆเลยครับ เปรียบเทียบได้ครบถ่วนชัดเจนดีครับ
ตอบลบมันดีจิงๆ
ตอบลบละเอียดมากครับ ซื้อหนังสือกฎหมายมาแต่ยังไม่เข้าใจ ซีวิลลอว์ กับ คอมมอนลอว์ แตกต่างกันอย่างไร ตอนนี้กระจ่างแล้วครับ
ตอบลบดีมากเลยครับ เพราะ ว่าจะสอบแล้วเลยต้องหามาอ่านครับขอบคุณครับละเอียดมาก
ตอบลบ